Sinprapha
RICHARD STRAUSS

ผมใช้เกมเป็น Concept และมีชื่อเรียกว่า "League of horn" concerto ผมจึงนำแนวคิดของเกมกับความท้าทายมาผสมผสานกัน โดยผมเปรียบเสมือนกับผู้เล่นที่ถูกเรียกว่า ''Horn player'' ที่ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ในตัวของบทเพลง โดยผมได้เลือก Standard REPROTORE 2 บท ได้แก่ Horn concertos ประพันธ์โดยสองพ่อลูก franz และ Richard Strauss ซึ่งเป็นเสมือนเพลงที่ทดสอบความสามารถของผู้เล่นฮอร์น ที่ผมจะต้องแสดงในฐานะของนักเล่นฮอร์นและเป็นคนเล่นเกมนั้น
การที่จะผ่านแบบทดสอบต้องทำอะไรบ้าง? เกมนี้มีชื่อว่า "League of horn concerto" และผมจะเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่จะผ่านด่านของ Richard Strauss Franz Strauss ซึ่งถ้าผมสามารถมันไปได้ ผมก็จะได้ Achievement unlock หรือปลดล็อกความสำเร็จต่าง ๆ ที่ผมสามารถผ่านด่านนั้น ๆ ออกมาได้ แล้วพอคิดเป็นเกมแบบนี้แล้ว จะทำให้เกิดความรู้สึกความท้าทายที่สนุกดูน่าสนใจในแต่ละด่าน ซึ่งการที่จะทำให้คนดูเข้าใจในแต่ละท่อน ผมก็เลยเอา เกมมาผสมกับดนตรีให้ตัวผู้ชมเกิดความเข้าใจ เพราะฉะนั้นผมเลยเอาเกมเป็นสื่อวิธีการว่าทำไมมันถึงเป็น Standard Repertoire และแนวคิด ของเกมที่ผมเอาให้คนดูและคนดูไม่จำเป็นที่จะต้องเล่นเกมกับเราก็ได้ขอแค่ผู้ชมได้ดูแล้ว ผจญภัยไปกับสิ่งที่เราเจอว่าอุปสรรคต่างๆวิธีการต่างนั้นเราทำอย่างไร อารมณ์เปรียบเสมือนเรากำลังดูคนอื่นเล่นเกมนั้นเลยครับ

Inspiration & Concept

แรงบันดาลใจเกิดจากที่ผมได้เล่นเกมแบบแข่งขันกัน แล้วพอชนะฝั่งตรงข้ามได้ที่เก่งกว่าหรือทำภารกิจยากๆสำเร็จ ทำให้ผมเกิดความรู้สึกที่ภมูิใจในตัวเอง แล้วอยากจะสำเร็จในต่อ ๆ ไป ซึ่งพอได้มองแล้วนั้นก็คือเกิดจากคำที่ว่า ความท้าทาย หรือความพิสูจน์ในตัวเอง ซึ่งผมได้มองหลายๆอย่างว่า อย่างเกมที่เราได้เล่นมันก็คล้าย ๆ กับดนตรี ตรงที่เราต้องซ้อม ต้องทำซ้ำ ไปเรื่อย ๆ จะเกิดความเคยชิน ผมก็เลยเอามาทำ Concept และเอาเกมมาสื่อสารกับผู้ชมนั้นเองครับ

ดนตรีและเกม ที่อยากสื่อสารกับผู้ชมได้เห็น นั้นคือการฝึกซ้อมและ
เกิดความชำนาญได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราซ้อมเยอะจะทำให้
เกิดหลอดเลือดของตัวผู้เล่นเยอะขึ้น มีกำลังมากขึ้นได้การผ่านด่านต่างๆ
โดยที่เราไม่รู้สึกใช้แรงเยอะเป็นพิเศษ ทีี่ถึงอย่างงั้นก็ต้องเรียนรู้ตัวบทเพลง
หาความรู้และวิธีฝึกซ้อม ก็เหมือนเกมที่เราผ่านไม่ได้สีกทีจนต้องหยุดเล่น
แล้วไปหาวิธีผ่านด่านจากคลิปหรือหนังสือเกมนั้น ๆ จนเกิดการเรียนรู้
แล้วสามารถผ่านไปได้ ก็เหมือนกับดนตรีที่เราต้องศึกษาเพลง ศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถเล่นบทเพลงนั้นได้อย่างเต็มที่


Symbol
หัวใจเปรียบเสมือนกำลังของเราและทักษะดนตรี ที่จะสามารถบรรเลงในแต่ละท่อนของบทเพลง เสมือนกับหลอดพลังชีวิตของตัวผู้เล่น ที่สามารถลดและเพิ่มจำนวนได้ แล้วแต่กับท่อนต่างๆที่เราเจอว่าลำบากขนาดไหน


ขวดเพิ่มพลังงานของชิวิตของผู้เล่น เราจะสามารถพบเจอได้จาก ท่อนที่เราไม่ใช่กำลังเยอะเกินไป สามารถผ่อนคลายและเก็บกำลังตัวผู้เล่นได้ หรือเช่นพบห้องที่ตัวผู้เล่นต้องหยุดเล่น เป็นระยะยาวก็สามารถเพิ่มได้เช่นกัน


สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายถึงบ่งบอกว่า
เราสามารถผ่านด่านสำเร็จ ปลดล็อครางวัล
ให้แก่ตัวผู้เล่น ทำให้ตัวผู้เล่นเองมีความรู้สึก
ที่สามารถชนะอุปสรรคนั้นได้สำเร็จลุล่วง
Method
1.ศึกษาข้อมูลประวัติเพลง
2.ฝึกซ้อมบทเพลงและหาแนวทางในการซ้อมช่วงเทคนิคที่ยาก
3.ปรึกษาอาจารย์ เพื่อหารือถึงแนวทางซ้อมและการตีความของบทเพลง
จากนั้นปรียบเทียบกับการเล่นเกม
4.จัดการแสดงคอนเสิร์ต
5.ประมวลผลงานผ่านช่องทางออนไลน์
ณ ตอนจัดการแสดงคอนเสิร์ต มีการหาทีมงานและประสานงานกันก่อนที่การแสดงจะเริ่ม
มาสถานที่และชี้แจงหน้าที่ก่อนอย่างน้อย 2 ชม ก่อนจัดคอนเสิร์ต ช่วงเวลานั้นเราจะต้องบอก
กับทีมงานว่าจะมีลูกเล่นในการแสดงอย่างไรบ้างพอเสร็จเรียบร้อย ก็จะคุยกับแอคคอมเรื่องคิว
และในตัวเพลงเป็นการส่วนตัวและซ้อมจุดช่วงเข้าซะส่วนใหญ่
ถ่ายทอดสดกับเล่นปกติ ต่างจากการเล่นเกมมากน้อยแค่ไหน ต่างน้อยมาก ส่วนตัวแล้ว
ความรู้สึกเหมือนกันเลย ตรงที่ถ่ายทอดสดเหมือนเล่นเกมแบบจริงจังต้องพลาดน้อยมากหรือ
ไม่พลาดเลยและความตื่นเต้นที่ตามมา ส่วนเล่นปกติก็จะเหมือนกับการซ้อมเล่นเกมให้เก่งขึ้น
เชี่ยวชาญมากขึ้นและเกิดความเคยชินของร่างกาย และทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
และสุดท้ายในคอนเสิร์ตนี้อยากปรับปรุงในเรื่อง คิวภาพที่มากเกินไปและการจัดแจงกับแอคคอมที่ไม่ได้รู้เรื่องคิวด้วยกัน ครั้งหน้าอยากจะซ้อมด้วยกันมากขึ้นและให้อาจารย์เป็นคนดูและแนะนำกับแก้ให้มากขึ้น ผมว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกครับ
สิ่งที่อยากทำต่อ อยากจะต่อยอด Concept เรื่องนี้พัฒนาต่อไปครับ อยากจะ Advance
ให้มากขึ้น เพราะตอนนี้ ความรู้สึกของ โปรเจ็คนี้เหมือน เด็กที่พึ่งหัดเดิน แต่พอมาครั้งหน้าจะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มีทักษะหรือรายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้นต่างจากตอนแรก เปรียบเสมือน นักเล่นเกมครับ ที่ผม 2 จำพวกก็คือ 1.คนเล่นเกมแก้เครียดเฉยๆ 2.นักเล่นเกมที่เอาจริงเอาจัง
หรือที่ให้มองภาพง่ายๆเลยก็คือ นักแข่ง E-sport ครับ ที่จะมีการฝึกฝนมากขึ้น มีตารางในการซ้อมและอีกหลายๆอย่างที่ศึกษาเพิ่มเติม นี่คือสิ่งที่ผมจะทำต่อไปครับ