Sinprapha
RICHARD STRAUSS
Father and Son


1822 - 1905

Richard Strauss
Horn Concerto No. 1 in E-flat major,
Op. 11
1.Allegro
2.Andante
3.Allegro

1864 - 1949

บทเพลง Horn Concerto ประพันธ์โดย Franz Strauss ในปี ค.ศ. 1865 และออกแสดงครั้งแรกที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี Munich ในวันที่ 27 มีนาคม ในปีเดียวกัน บรรเลงเดี่ยวฮอร์นโดยผู้ประพันธ์
Franz Strauss ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเล่นฮอร์นที่ดีที่สุดในสมัยนั้น แม้กระทั่งลูกของเขา
ได้ฟังก็ต้องยอมรับแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ โดยเพลง ๆ นี้มีได้รับอิทธิพลมาจาก W. A. Mozart และ L. van Beethoven
Franz strauss เคยพูดเอาไว้ว่าเขาไม่ชอบ RICHARD Wagner โดยไม่ได้บอกถึงเหตุ อย่างไรก็ดี Wagner ก็เคยกล่าวไว้ว่า "Franz strauss เป็นเพื่อนคนหนึ่งที่นิสัยดื้อรั้น หัวแข็งมากจริงๆ แต่พอ
เมื่อไรที่ Franz Strauss ได้เล่นฮอร์นและส่งเสียงแตรเมื่อไร ก็ต้องยอมฟังเสียงแตรของเขาแม้กระทั้งลูกเขาเอง"
Wagner เคยให้ Franz บรรเลงในรอบปฐมทัศน์ของอุปรากรมาหลายครั้งแล้ว
ซึ่ง Horn Concerto บทนี้ จะมีความแตกต่างกับลูกชายตรงที่แนวเพลงจะมีความท้าทายในตัวผู้เล่นฮอร์น
ที่จะต้องโทนเสียงสูงกับโทนเสียงต่ำ และการบรรเลงอย่างไพเราะ โดยวงดุริยางค์
จะเริ่มดำเนินดนตรีเพื่อส่งไปยังผู้บรรเลงเดี่ยว ซึ่งหลังจากจบกระบวนแรก จะต่อไปด้วยกระบวนช้า Andante
จะไม่มีหยุดคั้นกลางต้องเล่นต่อไป และท่อนสุดท้ายเป็นท่อนที่ยากที่สุด เป็นแบบทดสอบของผู้เล่นฮอร์นมากที่สุด
ต่อด้วยกระบวนสุดท้ายที่เทคนิคยากที่สุด ถือเป็นแบบทดสอบสำคัญของผู้เล่นฮอร์น
ที่ใช้เทคนิคมากมาย เป็นแรงบันดาลใจให้กับลูกชายในการประพันธ์บทเพลง Horn Concerto เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”


ประโยคที่ท้าทายและจำเป็นต้องฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงที่สุด ได้แก่ ช่วงท้ายของกระบวนแรก ด้วยการเล่นโน้๊ตหลักและเสริมแต่งด้วยโน้ตประดับ (ornament ) ที่ว่องไว โดยโน้๊ตหลักจะต้องเล่นต้องให้จังหวะคงที่ ด้วยท่อนแรกนี้เป็นท่อนที่ใช้กำลังและต้องมีสมาธิอย่างมากในการบรรเลง มิฉะนั้นอาจจะทำให้หลงโน้ตขณะเล่น ราวกับ Game over ก็เป็นได้
โดยวิธีการซ้อมของผมก็คือ ซ้อมช้า ๆ ไปทีละห้องๆ ส่วนตรงโน้ตประดับ ให้ฝึกเล่นแบบละเว้นโน้ตประดับ เมื่อซ้อมโน้ตหลักได้คล่องแล้วจึงค่อยใส่โน้ตประดับเข้าไปนอกจากนี้ผู้เล่นฮอร์นจำเป็นต้องเป่าโน้ตเสียงสูงจนถึงโน้ต B-Flat Octave ที่ 3 จึงจำเป็นต้องซ้อมเสียงสูงนี้ให้แม่นโดนเริ่มจากการซ้อมแบบ Apeggio และจับความเร็วลมของเราให้ได้


Franz strauss กล่าวถึงท่อน Andante เองว่า เป็นท่อนที่ท้าทาย ตรงที่ส่วนโน้๊ตจับจังหวะได้ค่อนข้างยาก เพราะส่วนโน้๊ตที่เขียนใน อัตรากำกับจังหวะ9/8 จึงต้องระวังอย่าสับสนในกับลักษณะจังหวะ และนับจังหวะระหว่างบรรเลงให้ดี แก้ปัญหาด้วยการซ้อมในจังหวะที่ไม่ช้ามาก และฝึกซ้อมแบ่งสัดส่วนจังหวะ (subdivide) ให้ดีเพื่อให้เข้าใจแล้วคุ้นชินกับจังหวะ


ท่อนนี้เป็นท่อนที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้น แต่่แค่เปลี่ยนบันไดเสียงคีย์
กระบวนสุดท้ายเป็นท่อนท่ีเสมือนเป็น แบบทดสอบของเพลงนี้เลยว่า ยังมีกำลังพอที่จะเล่นหรือไม่
ผู้เล่นจำเป็นต้องฝึกเล่นทั้งเพลง (Run through) บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อ ฝึกซ้อมการควบคุมพลังในการแสดงให้สามารถเล่นจนจบเพลงได้อย่างดี
Run through บ่อยๆ วันละครั้ง
เป็นอย่างต่ำ

Richard Strauss: concerto for horn and orchestra no. 1 in
E-flat Major, op. 11 หรือตามชื่อต้นฉบับภาษาเยอรมันว่า ‘Waldhornkonzert’ No.1 E-flat for horn and orchestra, op.11 The concerto ประพันธ์ขึ้นโดย ริชาร์ด สเตราซ์ (Richard Strauss) ระหว่างปี ค.ศ. 1882 และ 1883
ริชาร์ด สเตราซ์ ประพันธ์บทเพลงนี้ขณะที่มีอายุเพียง 19 เท่านั้น โดยอุทิศบทเพลงนี้
ให้กับบิดาของเขา ซึ่งเป็นผู้บรรเลงบทเพลงนี้ในรอบ
การแสดงปฐมทัศน์
และแท้ที่จริงแล้ว บิดาของ ริชาร์ด สเตราซ์ เป็น หัวหน้ากลุ่มฮอร์น (principal horn player) ของ วงดุริยางค์ราชสำนัก แห่งเมืองมิวนิค
(Munich CourtOrchestra)


เพลงนี้ใช้พละกำลังตั้งแต่เริ่มต้น จุดเสี่ยงที่เป็นความท้าทาย อยู่ตรงประโยคเปิดตัวของเพลงนี้ หากพลาดตั้งแต่แรก อาจทำให้เกิดการประหม่าในประโยคต่อๆ ไป ที่จะต้องใช้กำลังมากโดยตลอด วิธีแก้ปัญหา ได้แก่ การลองเป่าไดนามิค mezzo forte ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มความดังขึ้น อาจจะดูง่ายแต่ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น และพอหลังจากนี้ต้องเล่น โน้ตเสียงดัง (Forte) แล้วไล่ขึ้นไปอีก Octave โดยต้องใช้ Slur เท่านั้น ตรงนี้ต้องฝึกบ่อย ๆ เป็นประจำห้ามละเลยอย่างเด็ดขาด


ท่อนนี้ เป็นท่อนที่ใช้กำลังและแรงมากที่สุด อย่างไรก็ดีดนตรีในท่อนนี้มีความสง่างาม เหมาะกับเครื่องฮอร์นโดยเฉพาะ


ท่อนสุดนี้เป็นท่อนจบที่รวดเร็ว และมีรายละเอียด Articulation
ที่ต้องเล่นออกมาอย่างชัดเจน เป็นท่อนที่ใช้กำลังมาก
กว่าบทเพลงของบิดาเสียอีก เพราะมีทั้งไดนามิคดังเบาที่หลากหลาย
โดยเฉพาะประโยคสุดท้ายของเพลง วิธีการซ้อมก็คือต้องซ้อมช้า ๆ อย่าใช้แรงมากจนเกินไป